คู่พระบารมี

วันที่ 28 เมษายน เป็นวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส ในหลวงและพระราชินี นับเป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
29881_387311774494_796570_n
โดยพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ต่างมีรอยยิ้มทุกครั้ง ที่เห็นภาพของทั้งสองพระองค์ พระคู่พระบารมี
29881_387311779494_1880991_n75089_10151269942244495_1474941880_n644192_10151421262624495_543361031_n400408_10150443333694495_306282958_n481556_10151195721539495_280067453_n29981_398464829494_1093300_n%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%873%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%872%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87550490_10150869561299495_453767783_n
โดยเกี่ยวกับ รักแรกพบ ในหลวง-ราชินี ในโอกาสวันแห่งความรัก นิตยสารสุดสัปดาห์ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ นำเสนอเรื่องราวความรักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
เรื่องราวความรักของทั้งสองพระองค์ โดยมากเป็นการเปิดเผยผ่านคำบอกเล่าและบันทึกของราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และข้าราชบริพารที่ถวายงานรับใช้ใกล้ชิด ทั้งหมดมีมุมน่ารักที่ทำให้อดยิ้มตามไม่ได้
วันหนึ่งในปีพ.ศ.2489 วันที่ทรงแรกพบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เสด็จฯ ไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิมซึ่งทรงใช้มานาน โปรดเกล้าฯ ให้ม.จ.นักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสพร้อมครอบครัวเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
วันนี้เองที่ทรงพบกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของ ม.จ.นักขัตรมงคล และ ม.ล.บัว กิติยากร ที่มารับเสด็จ โดยวันนั้น ม.ร.ว.สิริกิติ์แต่งตัว เรียบร้อย สวมสูทสีเนื้อ ไว้หางเปียยาวถึงหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถึงช้ากว่ากำหนด ทราบสาเหตุภายหลังว่าเนื่องจากรถยนต์พระที่นั่งเกิดเสียและน้ำมันหมด ตรัสว่าทรงจำได้ดีถึงสีหน้าของ ม.ร.ว.สิริกิติ์ที่ทั้งหิวและรอนาน
เมื่อเสด็จฯ มาถึงราชเลขาฯ ได้เชิญแต่ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย แล้วให้เด็กไปรับประทานอาหารจีนอีกที่ จึงทำให้ ม.ร.ว.สิริกิติ์เคืองอยู่นิดๆ
เมื่อตรัสถึงเรื่องนี้ทั้งสองพระองค์จะทรงพระสรวล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงล้อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า “เดินตุปัดตุเป๋ หน้างอ คอยถอนสายบัว”
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงกราบบังคมทูลตอบว่า “ที่หน้างอ เพราะให้แต่ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย เด็กกลับไล่ไปกินที่อื่น”
ก่อนทรงได้พบกับม.ร.ว.สิริกิติ์ ทรงทราบถึงความน่ารักจากสมเด็จพระราชชนนีมาก่อนแล้ว ในการเสด็จเยือนปารีสครั้งแรก สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเป็นพิเศษว่าให้ไปทอดพระเนตรลูกสาว ของ ม.จ.นักขัตรมงคล “ว่าจะสวย น่ารักไหม” ทรงกำชับว่า “เมื่อถึงปารีสแล้วให้โทร.บอกแม่ด้วย”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถึงก็ทรงโทรศัพท์หาและตรัสว่า “เห็นแล้ว น่ารักมาก”
เนื่องจากเวลาเสด็จฯ ยังกรุงปารีส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่สถานทูตไทย ทำให้ครอบครัว ม.จ.นักขัตรมงคลซึ่งรวมถึง ม.ร.ว.สิริกิติ์เป็นที่คุ้นเคยเบื้องพระยุคลบาท ความที่ได้พบพระพักตร์บ่อยครั้ง ทั้งยังมีความชอบในสิ่งเดียวกันโดยเฉพาะการดนตรี
ประกอบกับนิสัยร่าเริง สุภาพอ่อนน้อม และขี้อายในบางครั้ง ทำให้ยิ่งประทับพระราชหฤทัย โดยมีความสวยงามของเมืองโลซานเป็นฉากหลังที่โรแมนติกและมีความหมายยิ่งต่อทั้งสองพระองค์
ข่าวใหญ่ที่ทำให้ประชาชนชาวไทยตกใจเป็นอย่างมากในเดือนตุลาคม พ.ศ.2491 คือ ข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์นอกเมืองโลซาน ระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลในตำบลเมอร์เซสนั้น รับสั่งให้ราชองครักษ์ ติดต่อไปยังม.จ.นักขัตรมงคล ให้ม.ล.บัว กิติยากร พาธิดาทั้งสองคือม.ร.ว.สิริกิติ์และม.ร.ว.บุษบาเข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการที่ โรงพยาบาลเป็นประจำทุกวัน
มีพระราชกระแสรับสั่งว่า เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติครั้งแรก ทรงระลึกถึงบุคคลเพียง 2 คน คือสมเด็จพระราชชนนีและม.ร.ว.สิริกิติ์
เรื่องนี้ ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้กล่าวว่า “สิ่งแรกเมื่อรู้สึกพระองค์คือทรงหยิบรูป ม.ร.ว.สิริกิติ์ออกจากพระกระเป๋า ส่งถวายสมเด็จพระราชชนนี พร้อมกับรับสั่งว่า ‘แม่ เรียกสิริมาที'”
ท่านผู้หญิงเกนหลงกล่าวว่า “รูปม.ร.ว.สิริกิติ์รูปนั้นเป็นรูปแรกที่ทรงถ่าย เป็นรูปหมู่ที่ถ่ายตอนบุคคลเข้าเฝ้าฯ ณ สถานทูต ม.ร.ว.สิริกิติ์อยู่เป็นคนสุดท้าย เห็นหน้าไม่ชัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ‘ยู้ฮู คนข้างหลังโผล่หน้ามาหน่อยสิ’ รูปนั้นทรงตัดเฉพาะหน้าม.ร.ว.สิริกิติ์ไว้ในพระกระเป๋า”
ความที่ม.ร.ว.สิริกิติ์เข้าเฝ้าฯ และถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิด ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ม.จ.นักขัตรมงคลเข้าเฝ้าฯ ที่นครโลซาน ทรงมอบหมายให้ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นผู้ทูลเกริ่นทาบทามเรื่องที่จะทรงขอหมั้นก่อน ขณะที่พระองค์เองมีพระราชดำรัสเป็นการส่วนพระองค์กับม.ร.ว.สิริกิติ์ล่วงหน้าแล้ว
พระราชพิธีทรงหมั้นจัดขึ้นเป็นการภายใน ณ โรงแรมวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 โดยค่ำวันที่ 12 สิงหาคม 2492 มีงานเลี้ยงที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศข่าวทรงหมั้นให้คนไทยทราบ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ประกาศ ข่าวที่เผยแพร่ออกไปนำมาซึ่งความดีใจแก่ประชาชนไทยเป็นอย่างยิ่ง สื่อ มวลชนหลายสำนักทั่วโลกต่างนำเสนอข่าวนี้
หลังพระราชพิธีหมั้นผ่านไป 7 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติประเทศไทยทางชลมารค โดยมีม.ร.ว.สิริกิติ์และครอบครัว รวมถึงข้าราชบริพารตามเสด็จ
หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประมาณ 1 เดือน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 2493 ณ วังสระปทุม
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านสถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแก่สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
วันต่อมาเสด็จฯ ไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถและฮันนีมูนที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา 3 วัน พร้อมด้วยคณะผู้ตามเสด็จโดยรถไฟ
ตลอดเส้นทางที่เสด็จฯ นั้นมีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จเนืองแน่น ส่วนหนึ่งต้องการยลพระสิริโฉมของพระราชินีนั่นเอง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติหน้าที่ภรรยาโดยไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเสด็จฯ เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอ ทั้งในและต่างประเทศและในถิ่นทุรกันดาร ทรงเป็นตัวอย่างของคำว่า “คู่ทุกข์คู่ยาก”
จากความรักแบบหนุ่มสาว เมื่อทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทุ่มเทความรัก ทรงอบรมพระราชโอรส-ธิดาของพระองค์เป็นคนดี และรับผิดชอบต่อประชาชนและบ้านเมือง
%e0%b8%88%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%992
ขอบคุณข้อมูล ราชกิจจานุเบกษา